บัญชีอัตราภาษีเงินได้ พิมพ์

 

 

 " (1) สำหรับบุคคลธรรมดา

 

เงินได้สุทธิไม่เกิน

 

150,000 บาท     

 

 

ยกเว้นภาษี

 

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน

 

150,000 บาท     
500,000 บาท     

 

 


ร้อยละ 10

 

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน

 

500,000 บาท     
1,000,000 บาท     

 

 


ร้อยละ 20

 

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน

 

1,000,000 บาท     
4,000,000 บาท     

 

 


ร้อยละ 30

 

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน

 

4,000,000 บาท     

 

 

  ร้อยละ 37 "

 

 

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ ปีภาษี 2535 เป็นต้นไป)

( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )

 

 

" (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

          (ก) ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ร้อยละ 30 "

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 260) พ.ศ.2535 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ.2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 475) พ.ศ. 2551 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.62/2539 )

          "(ข) ภาษีตามมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (ค)
(ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 377) พ.ศ.2544 )

ร้อยละ 15

          (ค) ภาษีตามมาตรา 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข)

  
ร้อยละ 10

          (ง) ภาษีตามมาตรา 70 ทวิ

ร้อยละ 10"

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 เม.ย. 2535 เป็นต้นไป)
(ดูพระราชกฤษฏีกา (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2537)

          "(จ) ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13)

ร้อยละ 10"

(พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)
(ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 250) พ.ศ.2535)

 

 

                                                                                                                                                                                                     ที่มา : กรมสรรพากร

 

 

(1)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

         ก.   บริษัท จำกัด

         ข.   บริษัทมหาชน จำกัด

         ค.   ห้างหุ้นส่วน จำกัด

         ง.   ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

         ในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอก ประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย

(2)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

         บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่

         (ก)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย ได้แก่

                 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

         (ข)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผู้จ้างเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าว

(3)   กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

(4)   กิจการร่วมค้า

       

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2011 เวลา 23:22 น.
 
Joomla SEO powered by JoomSEF