รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home ห้องสนทนา ปัญหาทั่วไป เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย
 กระดานสนทนา :: ปัญหาทั่วไป
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
 หัวข้อกระทู้ :เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย.. 27-08-2011 18:13:15 
เจริญ

บุคคลทั่วไป

ตัวอย่าง.ครับ นายA เป็นสมาชิกบอร์ดการบินไทย ไปประชุมบอร์ดการบินไทยนายAได้เบี้ยประชุม จำนวน 10000 บาทต้องเสียเงินได้บุคคลธรมดาหรือไม่ครับเพราะอะไร

 

 

 

ขอบคุณครับ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย.. 03-09-2011 22:59:49 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
คุณเจริญ คำถามของคุณเรื่องค่าเบี้ยประชุมนี้เป็นปัญหาถกเถียงกันมานานแล้ว ค่าเบี้ยประชุมกรรมการบริษัทน่าจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ 1. บริษัทจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งเป็นพนักงานประจำของบริษัท เงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับเงินเดือน กรณีบริษัทจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ และหรือค่าตอบแทนคณะกรรมการ ให้บริษัทนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินเดือนและมีหน้าที่หักเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเสมือนหนึ่งว่า ได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้นตามอัตราก้าวหน้า 10 – 37% สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรกในปีภาษีนั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนั้นหากเงินได้พึงประเมินสุทธิไม่ถึง 150,000 บาท ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน 2. บริษัทจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งไม่ได้เป็นพนักงานประจำของบริษัท ค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวซึ่งบริษัทจ่ายเป็นประจำแก่บุคคลภายนอกเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้บริษัทนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณและมีหน้าที่หักเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้นตามอัตราก้าวหน้า 10 – 37% สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรกในปีภาษีนั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนั้นหากเงินได้พึงประเมินสุทธิไม่ถึง 150,000 บาท ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน สรุปว่าน่าจะคิดเหมือนกันทั้งสองวิธีคือใช้อัตราก้าวหน้า เพราะเงินได้ดังกล่าวเข้ามาตรา 40 (1) และ 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากการศึกษาเพิ่มเติม ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองอ่านดูนะค่ะ โดยที่มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้เบี้ยประชุมกรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบที่ทางราชการ หรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540) ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.) โดยมีหน่วยงานธุรการของแต่ละองค์กร ซึ่งมีทั้งกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นส่วนราชการ และไม่เป็นส่วนราชการ นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาของทางราชการในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง อีกทั้งยังมีองค์กรใหม่ๆ เกิดขึ้น อีกหลายองค์กร อาทิ องค์การมหาชน องค์กรในกำกับของรัฐ เป็นต้น กรณีจึงมีปัญหาว่า หากบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้จากค่าเบี้ยประชุม กรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบที่หน่วยงานหรือองค์กรดังกล่าวจ่ายให้แล้ว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(7) แห่งประมวล-รัษฎากร หรือไม่ อย่างไร หลักเกณฑ์พิจารณา มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้เบี้ยประชุมกรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบ ที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ "การยกเว้นตามมาตรานี้ ต้องเป็นเงินได้ที่จ่ายโดยทางราชการ ซึ่งหมายถึง หน่วยงานของรัฐที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือเป็นสถานศึกษาของทางราชการ ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน ฯลฯ ที่เป็นของทางราชการ3 แต่ถ้าเป็นเบี้ยประชุม ค่าสอน ค่าสอบที่ภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่ไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน เป็นผู้จ่าย จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้" หลักเกณฑ์พิจารณาจึงแบ่งออกเป็น 2 กรณีได้แก่ กรณีเบี้ยประชุม และกรณีค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการจ่ายให้ กรณีเบี้ยประชุม เบี้ยประชุมคือเงินตอบแทนสำหรับการเข้าประชุมในฐานะกรรมการหรือตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งจะจ่ายเป็นครั้งคราวตามที่มีการประชุม กรณีค่าตอบแทนหรือค่าเบี้ยประชุม ที่กรรมการได้รับประจำเป็นรายเดือน ถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร4 ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าเบี้ยประชุมที่รัฐวิสาหกิจจ่ายให้แก่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร5 ค่าเบี้ยประชุมซึ่งจ่ายเป็นรายครั้งที่มีการประชุมและเข้าประชุม จะถือเป็นเบี้ยประชุมกรรมการที่ทางราชการจ่ายให้ซึ่งได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ ในเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาว่า ผู้จ่ายมีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่ แล้วจึงค่อยพิจารณาว่าเข้าลักษณะเป็นค่าเบี้ยประชุมหรือค่าสอน ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้หรือไม่ โดยขอให้ศึกษากรณีศึกษาดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ตัวอย่าง (1) เรื่อง กรณีจ่ายเงินสมนาคุณคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประเด็นปัญหา6 : คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติได้อนุมัติให้จ่ายเงินสมนาคุณให้แก่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นรายเดือน แทนการจ่ายเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 การจ่ายเงินสมนาคุณ ให้จ่ายเฉพาะเดือนที่เข้าประชุม เดือนใดที่ไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่เข้าประชุมให้งดจ่ายโดยให้ประธานกรรมการได้รับเงินเดือนละ 10,000 บาท และกรรมการได้รับเงินเดือนละ 8,000 บาท จึงหารือว่าในการเบิกจ่ายเงินค่าสมนาคุณกรรมการแทนการจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการผู้มีเงินได้ดังกล่าวยังมีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และสำนักงาน ก.พ. จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่ (ติดตามเนื้อหาเต็มได้ในวารสารสรรพากรสาส์นประจำเดือน พฤศจิกายน 2552)
IP Logged
หน้า # 


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF