ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ เรารับทำบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ ยื่นภาษีอากร ตรวจสอบบัญชี ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ทำวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน และยินดีให้คำปรึกษาฟรี สนใจติดต่อเราได้ตลอดเวลาค่ะ โทรศัพท์: 02-090-2284-6 แฟกซ์: 02-090-2287, มือถือ: 086-089-6768 Line ID : sunisar2524 & Line ID : @banbunchee
Home ห้องสนทนา ปัญหาการบริการด้านภาษี ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์
 กระดานสนทนา :: ปัญหาการบริการด้านภาษี
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
 หัวข้อกระทู้ :ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 24-04-2011 15:00:25 
อั๋น

บุคคลทั่วไป

กำลังจะเริ่มทำอพาร์ทเมนต์ ขอปรึกษาการวางแนการเสียภาษีอย่างไรให้น้อยที่สุด

มีรายละเอียดดังนั้ครับ

มี2 อาคาร อาคารละ30 ห้อง

จำนวนห้อง 60 ห้อง

ค่าเช่า 3500 บาท

ชื่อที่ดินของมารดา

ผู้ขออณุญาติก่อสร้าง มารดา

ผู้กู้ บิดา+มาดา+ผม 

วงเงินกู้ 12ล้านบาท ดอกเบี้ย7%ต่อปี

อยู่ในช่วงการก่อสร้างได้30%

รบกวนช่วยให้คำปรึกษาด้วยครับ

ยินดีให้คิดค่าบริการในการปรึกษาครับ

เบอร์โทร 0862213989

email apirat_thongkan@hotmail.com

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 27-04-2011 16:00:17 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
เดี๋ยวทางเราจะรีบหาคำตอบและแนวทางให้นะครับ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 03-05-2011 00:07:08 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่

ผู้ที่วางแผนจะทำอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าต้องดำเนินการในด้านภาษีดังนี้

1. ทำสัญญาแยกค่าเช่าออกจากค่าบริการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนในฐานที่ต่ำลง เช่น ห้องเช่าราคา 3,500 บาท ให้คุณแยกเป็นค่าเช่าห้อง 2,000 บาท ถ้ามีเฟอร์นิเจอร์ก็แยกเป็นค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ อีก 1,500 บาท แต่ถ้าไม่มีเฟอร์นิเจอร์ก็ทำเป็นสัญญาให้บริการในเรื่องรักษาความสะอาด การให้ ไฟฟ้า แสงสว่าง การจัดยามรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ โดยต้องแยกทำเป็นสัญญาสองใบ คือ ( 1)สัญญาเช่าห้องและ ( 2) สัญญาบริการหรือให้เช่าเฟอร์นิเจอร์

การแยกสัญญาเช่นนี้ช่วยให้ท่านเสียภาษีโรงเรือนลดลงโดยต้องเสียเฉพาะจากค่าเช่าพื้นที่ และถ้า ท่านมีหนังสือสัญญาที่ผู้เช่าเซ็นไว้ชัดเจน การที่องค์ การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลจะ โต้แย้งเก็บภาษีโรงเรือนจากฐาน 3,500 บาทต่อห้อง ย่อมไม่ได้ แต่ต้องเรียกเก็บจากฐานค่าเช่า ห้องเดือนละ 2,500 บาท

2. ในการคิดค่าภาษีโรงเรือนนั้นท่านอาจสามารถต่อรองชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่าไม่ใช่ห้องทุก ห้องมีคนเช่าปีละ 12 เดือน หรือ 365 วันเต็ม ดูจากมาตรฐานโรงแรมต่าง ๆ ซึ่งเปิดห้องให้เช่า คล้ายกับอพาร์ตเม้นท์ เทศบาลหลายแห่งยินยอมให้ใช้อัตราคนเข้าพักที่ 60% ดังนั้น การที่ลด จำนวนวัน ที่มีคนพักลงเหลือเพียง 60% จะช่วยให้ฐานภาษีต่ำลง อันจะเป็นการดึงให้จำนวนภาษี โรงเรือนลดลงด้วย

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เช่าห้องพักไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับท่านที่มีค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ค่าบริการ หากทำรายได้เกินกว่าปีละ 1,800,000 บาท ท่านก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และจ่ายภาษีในอัตรา 7%

4. ภาษีเงินได้ หากคุณให้เช่าอพาร์ตเม้นท์ในชื่อส่วนตัว และไม่อยากทำบัญชี คุณหักค่าใช้จ่ายเป็น การเหมาได้ 30% ของรายได้ค่าเช่า อาทิเช่นปีหนึ่ง มีรายได้รวม 1,000,000 บาท สรรพากรก็ให้ คุณหักออก 30% เป็นค่าใช้จ่าย แล้วถือว่าอีก 70% เป็นฐานในการเสียภาษี ซึ่งคุณหักค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัวแล้วมาคิดภาษีในอัตราบุคคลธรรมตามตารางที่ผมได้แสดงไว้ในหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าคุณมีค่าใช้จ่ายเกินกว่า 30% เช่น มีต้นทุน 46% เพราะคุณต้องกู้ยืมเงินมาก่อสร้างหรือ ซื้ออพาร์ตเม้นท์ จึงมีค่าดอกเบี้ย มีค่าเสื่อมค่าสึกหรอของอาคาร เฟอร์นิเจอร์ ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้าง พนักงานในการดูแลต่าง ๆ รวมแล้วเกินกว่า 30% ของรายได้ คุณก็สามารถทำบัญชีแสดง ตัวเลขการคำนวณ เก็บใบเสร็จรับเงินให้ชัดเจนแล้วนำมา หักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงได้ 46%ตามที่มีเกิดขึ้น แล้วนำเอาส่วน 54% ที่เหลือเป็นฐานเสียภาษี การทำเช่นนี้ท่านต้องใช้ ความละเอียดและขยัน ในการ เก็บภาษีและรายการต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพราะหากผิดพลาดไป สรรพากรจะปรับและคิดดอกเบี้ยจากคุณอีกด้วย

5. หากคุณเสียภาษีในชื่อส่วนตัว รายได้จากอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าคุณก็เสียภาษีในชื่อส่วนตัว แต่ถ้า คุณมีรายได้จากแหล่งอื่นด้วย เช่น ค้าขาย รับจ้าง เมื่อรวมกับรายได้จากอพาร์ตเม้นท์ก็ทำให้คุณ ต้องเสียภาษีในอัตราสูง คุณก็ต้องจัดตั้งเป็นบริษัทเพื่อทำกิจการอพาร์ตเม้นท์แล้วเก็บค่าเช่า ซึ่งปกติ บริษัทจะเสียภาษี 30% ของกำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายได้นานับประการ บริษัทขนาดเล็ก คือ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท ก็จะเสียภาษี ประมาณ 15-30% ตามที่ได้กล่าวไว้

7 เมื่อเสียภาษีแล้วก็เป็นกำไรสะสมในทางบัญชี เมื่อคุณประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งเป็นการเสียภาษีสองขั้นตอน ภาระอาจจะสูงกว่าการทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อ ส่วนตัวของท่านเอง คุณต้องเปรียบเทียบจุดคุ้มทุน

6. จัดทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อคณะบุคคล

ในกรณีที่คุณมีรายได้หลาย ๆ ประเภทในปีเดียวกัน เช่น กำไรจากการค้าขาย การรับจ้าง หากมาทำ ธุรกิจอพาร์ตเม้นท์ในชื่อของคุณอีก รายได้ค่าเช่า จากอพาร์ตเม้นท์จะมาต่อยอดรายได้อื่น ๆ ของ คุณ ก็เลยผลักดันให้คุณต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น เช่น แทนที่จะเริ่มต้นเสียภาษีจาก 0% ของรายได้ หนึ่งแสนบาทแรก หากคุณมีเงินเดือน ค่าจ้าง และรายได้จากการค้าขายอยู่ 800,000 บาท ซึ่งอยู่ในอัตราภาษี 20% เมื่อนำรายได้ค่าเช่าจากการให้เช่า อพาร์ตเม้นท์อีก 1,000,000 บาท มา รวมก็เป็น 1,800,000 บาท ค่าเช่าอพาร์ตเม้นท์ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท จึงต้องเสียภาษี 30% ดังนั้น คุณมีทาง เลือกที่จะทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อของคณะบุคคลเพื่อกระจายรายได้ โดยต้อง มีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้า เนื่องจากกฎหมายภาษีกำหนดว่าผู้ใดเป็น เจ้าของโฉนด ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีรายได้จากค่าเช่า หากที่ดินอยู่ในชื่อของตัวคุณเอง การทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อคณะบุคคล คุณ ต้องหาคนอื่นเข้ามาร่วม เป็นเจ้าของที่ดิน หรือมิฉะนั้นเมื่อคุณเป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนอีกคนหนึ่ง ต้องเป็นผู้ก่อสร้างตึก แล้วรวมที่ดินกับตึกเป็นเจ้าของสองคน คือ คณะบุคคล หรือคุณกับเพื่อน จะต้องร่วมกันสร้างตึกบนที่ดินของคุณ คือ ต้องพยายามทำให้อพาร์ตเม้นท์มีชื่อบุคคลสองคนเป็น เจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือตึก หรือทั้งตึกและที่ดิน

อย่างไรก็ตาม ไม่อยากแนะนำให้เอาชื่อคนอื่นมาอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ เพราะต่อไปภายภาคหน้าหากคุณอยากจะขายหรือเปลี่ยนวิธีการต้องขอความ ยินยอมจากเพื่อนคนนั้น คิดว่าวิธีง่ายกว่านี้ คือ เมื่อคุณเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและตัวตึกอพาร์ตเม้นท์ คุณสามารถทำสัญญากับเพื่อนคน หนึ่งว่า ในการ ให้เช่าอพาร์ตเม้นท์นี้คุณเป็นคนออกทรัพย์สิน คือ อาคารและที่ดิน ส่วนเพื่อน ร่วมกันทำในฐานะผู้ให้บริการ ในลักษณะคล้ายเป็นหุ้นส่วน ไม่ใช่เป็น ลูกจ้าง กล่าวคือ เพื่อนเป็น ผู้ทำการตลาด จัดหาผู้เช่า ดูแลตึก รักษาความปลอดภัย เรียกเก็บค่าเช่า จ่ายค่าจ้างคนงาน เป็นต้น เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็สามารถ เก็บค่าเช่าในชื่อคณะบุคคลได้โดยเสียภาษีจากอัตราต่ำสุด และไม่ต้อง เอาค่าเช่าไปรวมกับรายได้อื่นของคุณ แต่เพื่อความรอบคอบคุณควรทำสัญญา ระบุความเป็น เจ้าของของคุณให้แจ้งชัด และเพื่อนมาเป็นเพียงผู้ให้บริการ เพื่อจะได้ไม่เกิดเรื่องโต้แย้งใน ภายหลังในเรื่องกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน สัญญานี้เป็นสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลและแบ่งแยกหน้าที่ การงานกันแล้วนำไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคลเพื่อจะได้เริ่มเสียภาษีให้ ถูกต้อง ในเรื่องการแบ่งกำไรคุณก็ต้องระบุให้ชัดเจน เช่น คุณได้แบ่ง 80% เพราะเป็นผู้ลงทุนใน ทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อนเพียงแต่เป็นคนออกแรงจึงได้ แบ่งแค่ 20% ซึ่งเห็นว่าการแบ่งอัตราส่วน แบบนี้ยุติธรรมดี

7. จดทะเบียนสิทธิเก็บกิน

การจัดตั้งคณะบุคคลทำอพาร์ตเม้นท์มีความยุ่งยากในการแบ่งแยกกรรมสิทธิทรัพย์สินและรายได้ ดังกล่าวข้างต้น วิธีง่ายกว่านี้ก็คือ หากคุณมีลูกหลาน อยากให้ลูกเป็นผู้มีรายได้จากการให้เช่า อพาร์ตเม้นท์เนื่องจากเด็กตัวเล็ก ๆ ไม่รายได้อื่น เขาจึงเสียภาษีจากอัตราขั้นต่ำสุด คือ 0% คุณก็ สามารถจดทะเบียน สิทธิเก็บกินให้แก่ลูกเพื่อลูกเป็นผู้รับรายได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

7.1 ลูกมีอายุเท่าใดก็ได้ตั้งแต่ 1 วัน จนถึง 80 ปี ขอให้มีตัวตนเป็นบุคคลเท่านั้น กรณีที่ลูกอายุยัง ไม่ถึง 20 ปี ถือเป็นผู้เยาว์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คุณในฐานะพ่อหรือแม่ย่อมมีสิทธิทำการแทนลูกอยู่ แล้ว คุณจึงสามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ลูกโดยคุณเป็นผู้ทำการแทน

7.2 สิทธิเก็บกินต้องไปจดที่กรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินและอาคารตั้งอยู่ โดยต้องนำโฉนดไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังให้เรียบ ร้อยด้วย

7.3 คุณจะกำหนดระยะเวลาสั้นยาวเท่าใดก็ได้ เลือกได้ 3 วิธี คือ
( ก) ตลอดอายุของตัวคุณเอง หรือ
( ข) ตลอดอายุของลูก หรือ
( ค) กำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่ไม่เกิน 30 ปี

7.4 แนะนำว่า ควรจดประมาณ 10 ปี ทั้งนี้ เพราะการวางแผนภาษีย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามภาวะเศรษฐกิจและรายได้ของคุณในแต่ ละปี ถ้าคุณจดยาวจนเกินไปทำให้ขาดความ คล่องตัว เช่น ถ้าคุณให้สิทธิแก่ลูกตลอดชีวิต แล้ววันหลังคุณจะเปลี่ยนใจจดให้แก่ลูกคนที่สองหรือจะ ยกเลิกสิทธิเก็บกิน ถ้าหากลูกซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเกิดไม่ยินยอมคุณก็ยกเลิก เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ถ้ามีกำหนดระยะเวลา สักวันหนึ่งระยะเวลาก็ จะสิ้นสุดลง คุณสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ

7.5 มีเจ้าพนักงานที่ดินบางคนไม่ค่อยอยากให้คุณจดสิทธิเก็บกิน เกรงว่าคุณจะวางแผนเพื่อเสีย ภาษีน้อย ทำให้รัฐขาดประโยชน์แต่ดิฉันเห็นว่าเป็นการ ใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต เจ้าพนักงาน จ ะไม่ยอมไม่ได้ หากว่ารัฐไม่อยากให้ราษฎรจดทะเบียนสิทธิเก็บกินก็ควรจะยกเลิกกฎหมายฉบับ นี้เสียเลย ดิฉันยังยืนยันว่าการทำตามกฎหมายเพื่อลดภาษีเป็นสิทธิของราษฎรที่จะทำได้โดยชอบธรรม การจดสิทธิเก็บกินเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาทเท่านั้น ประชาชนคนไทยสามารถ จดได้มาเกือบ 100 ปีแล้ว ดังนั้น บรรพบุรุษของเราก็เป็นผู้ที่จดสิทธิเก็บกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ

7.6 เมื่อลูกเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินแล้ว สัญญาเช่าและสัญญาบริการต่าง ๆ ตามที่ดิฉันกล่าวไว้ข้างต้น ต้องทำให้ชื่อของลูกในฐานะผู้ให้เช่า และในฐานะ ผู้ให้บริการ หากลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ คุณ สามารถดำเนินการแทนลูก คือ ลงนามแทนลูก ให้บริการแทนลูกก็ได้ แต่สัญญาต้องระบุว่าลูกเป็นผู้ให้เช่า และให้บริการ ข้อนี้ต้องพึงระวัง เพราะถ้าคุณจดสิทธิเก็บกินให้ลูก แต่ยังทำสัญญาในชื่อ ของตัวคุณเองเป็นผู้ให้เช่า การวางแผนภาษีย่อมไม่สมบูรณ์ คุณเสียเวลาเปล่า ๆ บางทีทำให้เสีย ภาษีผิด ๆ โดยปรับจำนวนมากมาย

7.7 ดิฉันเข้าใจว่าสมัยนี้เด็กที่เกิดใหม่ กระทรวงมหาดไทยจะมีเลขประจำตัวให้ ซึ่งเลขนี้จะสามารถ ใช้เสียภาษีได้ เพราะถือเป็นเลขบัตรประจำตัว แต่ถ้าหากว่าเด็กยังไม่มีเลขหรือบัตรประจำตัวที่จะ มาใช้ในการกรอกแบบเสียภาษีคุณก็สามารถยื่นขอเลขประจำตัวให้แก่เด็กได้ในลักษณะคล้ายกับ การยื่น ขอเลขประจำตัวของคณะบุคคล

7.8 สิทธิเก็บกินสามารถจดให้แก่วงศาคณาญาติที่ใกล้ชิดกับคุณได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้แก่ลูกแต่ เพียงผู้เดียว เพราะบางคนอาจเป็นโสด ไม่มีลูก มีแต่พ่อแม่พี่น้องหรือญาติสนิทอื่น ๆ ข้อพึงระวังมีแต่เพียงว่า เมื่อจดไปแล้วคุณแก้ไขไม่ได้หากผู้ทรงสิทธิเก็บกินไม่ยินยอม ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงแนะว่าให้กำ หนด ระยะเวลา เพราะต่อไปในภายภาคหน้าจิตใจของคนอาจจะเปลี่ยนไป คุณจะได้มีความ คล่องตัวในการปรับเปลี่ยนการวางแผนภาษี

8. ทางราชการไม่ว่าจะเป็นเทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกเก็บภาษีโรงเรือนหรือแม้แต่กรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะพยายามเก็บในจำนวนสูงสุด
บางครั้งอาจจะเกินกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำไป เช่น จะถือว่าห้องเช่าท่านมีคนพักเต็มตลอดทั้งปี ดังนั้นท่านต้องพยายามศึกษาข้อกฎหมายพร้อมทั้งข้อเท็จจริง และโต้แย้งโดยใช้เหตุผลที่เป็นจริง เป็นจัง โปรดระลึกว่า ราชการเก็บภาษีได้เฉพาะตามกฎหมายและตามข้อเท็จจริงเท่านั้น ดังนั้น หากห้องเช่าของท่าน ไม่มีคนพักเต็มตลอดเวลา โดยท่านสามารถแสดงได้จากสัญญาเช่าที่ผู้เช่าลง นามไว้หรือทะเบียนผู้เช่าพัก ท่านย่อมมีเหตุผลที่จะโต้แย้งและเสียภาษีตามราย ได้ที่ท่านได้รับจริง เท่านั้น โดยท่านไม่ต้องเสียเปรียบยอมรับการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้อง

9. ถ้าจำเป็นจะต้องโต้แย้งการประเมินภาษีแล้ว ท่านสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์การเรียกเก็บภาษีที่ไม่ ถูกต้องได้ และแม้ผลอุทธรณ์ออกมาจะเป็นไปใน แนวที่ท่านไม่ยอมรับ ท่านยังสามารถนำคดีขึ้นสู่ ศาลภาษีได้ด้วย โดยมีข้อระลึก 2 ข้อดังนี้

( 1) ในด้านภาษีโรงเรือนหากท่านจะอุทธณ์หรือนำคดีขึ้นสู่ศาล ท่านต้องชำระภาษีให้ครบเสียก่อน ไม่อย่างนั้นท่านจะถูกตัดสิทธิไม่ให้ฟ้องร้องต่อศาล

(2) การอุทธรณ์มีกำหนดระยะเวลาสั้นมาก ปกติภายใน 15-30 วัน ดังนั้น หากท่านคิดว่าจะใช้ สิทธิอุทธณ์โต้แย้งก็ควรเตรียมข้อเท็จจริง เอกสาร และคดีให้พร้อม เพราะมิฉะนั้นหากเลยกำหนด ของกฎหมาย ท่านจะถูกปิดปากไม่ให้นำคดีขึ้นอุทธรณ์หรือขอความยุติธรรมต่อศาลได้

 
IP Logged
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 03-05-2011 00:16:17 โดย สุณิษาเรืองหิรัญ ด้วยเหตุผล
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 24-12-2011 11:47:36 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
การหักภาษี ณ ที่จ่ายระดับโรงเรียน ขอถามว่าเงินเสี่ยงภัย เงิน พสร. ต้องนำมาคิดคำนวณในรายได้ด้วยหรือไม่
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 15-02-2012 11:07:10 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
แล้วถ้าโฉนดยังติจำนองที่ธนาคารจะจดสิทธิเก้บกินเด็กได้ไหมคะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 17-02-2012 17:50:54 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
จดสิทธิเก็บกินได้ค่ะ แต่จะมีผลดังต่อไปนี้ สิทธิเก็บกินเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจใน ป.พ.พ. ดังนั้นการจดทะเบียนสิทธิเก็บกินในที่ดินที่อยู่ระหว่างจำนอง ผู้รับจำนองอาจฟ้องศาลขอให้ลบสิทธิเก็บกินดังกล่าวจากทะเบียนได้ ถ้าการจดทะเบียนสิทธิเก็บกินเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนอง ตามมาตรา ๗๒๒ แห่ง ป.พ.พ. แต่กรณีที่จะเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนองอย่างไรนั้น ในขณะขอจดทะเบียนยังไม่อาจพิสูจน์ได้ เพราะถ้าถึงกาลที่ต้องบังคับจำนอง แม้จะขายทอดตลาดโดยยังมีสิทธิเก็บกินอยู่ ถ้ายังได้ราคาพอชำระหนี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนอง แต่ถ้าขายทอดตลาด ที่ดินโดยยังมีสิทธิเก็บกินอยู่ทำให้ได้เงินไม่พอชำระหนี้หรือไม่สามารถขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว เพราะเหตุที่ยังมีสิทธิเก็บกินอยู่ จึงจะถือว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งผู้รับจำนองอาจขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นได้ แต่การเพิกถอนเช่นนี้หาใช่เพราะเหตุ การจดทะเบียนสิทธิเก็บกินเป็นโมฆะไม่ ถึงแม้ว่าคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๙/๒๕๐๐ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๐๐ จะได้วางทางปฏิบัติไว้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ต่อเมื่อผู้รับจำนองให้คำยินยอมก็ตาม แต่ถ้าการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ผู้ขอประสงค์จะขอดำเนินการมิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะกรรมแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มิอาจระงับการขอจดทะเบียนได้ ดังนั้น หากมีผู้มาขอจดทะเบียนสิทธิเก็บกินในที่ดินระหว่างจำนองโดยผู้รับจำนองมิได้ให้ถ้อยคำยินยอมหรือทำหนังสือให้คำยินยอมไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องรับจดทะเบียนให้ แต่ก่อนจดทะเบียนควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชี้แจงให้คู่กรณีทราบถึงเหตุการณ์ที่จดทะเบียนสิทธิเก็บกินดังกล่าวอาจถูกเพิกถอน หากคู่กรณีทราบแล้วยังยืนยันให้จดทะเบียนโดยยอมรับผิดชอบกันเอง ก็บันทึกถ้อยคำไว้เป็นหลักฐาน แล้วจดทะเบียนให้ต่อไป
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 16-02-2013 15:06:43 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
ขอสอบถามนะคะ จากความรู้สึกถูกเอาเปรียบของประชาชนคนหนึ่งที่ยื่นแบบชำระภาษี และไม่เคยเลี่ยงภาษีสักครั้ง ตั้งแต่มีเงินได้มาร่วม16 ปี ซึ่งปีนี้เลือกชำระภาษีผ่าน ATM ปรากฏว่าต้องเสียค่าบริการเพิ่มอีก 20 บาท ทั้งๆ ที่เป็นธนาคารที่สรรพากรกำหนด และ ATM ที่ใช้ก็เป็นของงธนาคารที่เราเปิดบัญชีค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 20-02-2013 08:32:25 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
รบกวนขอถามเรื่องสัญญาให้บริการในเรื่องรักษาความสะอาด การให้ ไฟฟ้า แสงสว่าง การจัดยามรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ตามสัญญาบริการหรือให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ จะต้องเสียภาษีอย่างไรครับ เสียเหมาได้เท่าไร แล้วสัญญาเช่าเฟอร์นิเจอร์ แอร์ เสียภาษีเหมาได้เท่าไร
IP Logged
หน้า # 


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF