รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home ห้องสนทนา กระทู้ล่าสุด
 กระดานสนทนา
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>
 หัวข้อกระทู้ :ภาษีมูลค่าเพ่ิมและภาษีหัก ณ ที่จ่าย.. 28-02-2013 17:09:38 
Patcharin

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษีมูลค่าเพ่ิมและภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ตอนนี้กำลังเปิดร้านกาแฟในรูปแบบนิติบุคคล ซึ่งไปจด ภพ 01.1 แล้ว คือได้รับยกเว้นภาษีมูลค้าเพิ่ม แต่เราต้องยื่น ภพ.30 ทุกเดือนเป็น 0 หรือเปล่าค่ะ ? และเวลาเราจ่ายค่าจ้างทำของใครหรือบริการ เราสามารถออกใบหัก ภาษ๊ ณ ที่จ่ายและยื่นแบบ ในเดือน ถัดไปหรือเปล่าค่ะ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555.. 25-02-2013 20:47:23 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

คำชี้แจงกรมสรรพากร

เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา

 

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคาวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่า การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจำกัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่า ไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคาวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตามข้อ ๕๕ ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากสามีและภริยาเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาสำหรับปีภาษี 2555 เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี

กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ข้อ 2 การยื่นรายการของสามีหรือภริยา ให้หักลดหย่อนได้ ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนสำหรับ ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(2) สำหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภริยา 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภริยา

(3) สำหรับบุตรและการศึกษาบุตรตามมาตรา 47 (1) (ค) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๕ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง

ตัวอย่างที่ ๖ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภริยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอด ปีภาษี สามีและภริยาหักได้ฝ่ายละ 8,500 บาท

(4) สำหรับเบี้ยประกันชีวิตตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๗ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภริยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(5) สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๑ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ภริยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(6) สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน

ตัวอย่างที่ ๑๒ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท ภริยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

  (ข) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมได้ทั้งจานวน 10,000 บาท

  (ค) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ตัวอย่างที่ ๑๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภริยายังคงหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

  (ง) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ตัวอย่างที่ ๑๕ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท

(7) สาหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามมาตรา 47 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑๖ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

ตัวอย่างที่ ๑๗ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

(8) สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภริยา 30,000 บาท และมารดาของภริยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภริยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) ส่วนภริยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดา ของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)

(9) สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภริยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน ส่วนภริยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท ภริยาหักลดหย่อน คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท

ข้อ 3 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555

เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 และบังคับใช้บทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555

 

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 23-02-2013 09:13:37 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

คณะบุคคล จัดเป็นบุคคลธรรมดาค่ะ บุคคลธรรดาต้องอยู่ในหมวด ภงด.3 ค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 20-02-2013 15:54:25 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

คณะบุคคล อยู่ในหมวด หัก ภาษี 3 หรือ 53 คะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 20-02-2013 08:32:25 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์

รบกวนขอถามเรื่องสัญญาให้บริการในเรื่องรักษาความสะอาด การให้ ไฟฟ้า แสงสว่าง การจัดยามรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ตามสัญญาบริการหรือให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ จะต้องเสียภาษีอย่างไรครับ เสียเหมาได้เท่าไร แล้วสัญญาเช่าเฟอร์นิเจอร์ แอร์ เสียภาษีเหมาได้เท่าไร
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 16-02-2013 15:06:43 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์

ขอสอบถามนะคะ จากความรู้สึกถูกเอาเปรียบของประชาชนคนหนึ่งที่ยื่นแบบชำระภาษี และไม่เคยเลี่ยงภาษีสักครั้ง ตั้งแต่มีเงินได้มาร่วม16 ปี ซึ่งปีนี้เลือกชำระภาษีผ่าน ATM ปรากฏว่าต้องเสียค่าบริการเพิ่มอีก 20 บาท ทั้งๆ ที่เป็นธนาคารที่สรรพากรกำหนด และ ATM ที่ใช้ก็เป็นของงธนาคารที่เราเปิดบัญชีค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 12-02-2013 18:10:09 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ต้องหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะค่ะ ถ้าไม่ต้องการให้หัก ณ ที่จ่ายจะต้องแยกบิลค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 12-02-2013 17:13:55 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

บริษัท ได้จ้างบริษัท แห่งนึงส่ง เฟอร์นิเจอร์ให้ ซึ่งใบเสร็จรับเงินออก เป็น ค่าขนส่ง 650.- ค่าติดตั้ง+บริการ 750.- รวม 1,400.- ซึ่งอันนี้ทางบริษัท ขนส่งไม่ยอมให้หัก ภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากว่าแต่ละยอดไม่ถึง 1,000.- อันนี้ถูกต้องไหมค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 55.. 11-02-2013 19:29:50 
su

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 55

การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554          
การใช้อัตราในการคำนวณภาษี รอบบัญชีปี 2554 รอบบัญชีปี 2555 รอบบัญชีปี 2556 รอบบัญชีปี 2557
      กำไรสุทธิ อัตราภาษี กำไรสุทธิ อัตราภาษี กำไรสุทธิ อัตราภาษี กำไรสุทธิ อัตราภาษี
                     
1. กรณีทั่วไป ทั้งจำนวน 30% ทั้งจำนวน 23% ทั้งจำนวน 20% ทั้งจำนวน 20%
2. กรณีลดอัตรา                
  2.1 กรณี SMEs ทางอัตราภาษี                
  บริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 150,000
แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
15% เกิน 150,000
แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
15% เกิน 150,000
แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
15% เกิน 150,000
แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
15%
      ส่วนที่เกิน 1 ล้าน
แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
25% ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท 23% ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท 20% ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท 20%
      ส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท 30% ทั้งนี้จะใช้อัตราภาษีนี้ได้ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทด้วย (ปรับเงื่อนไขใหม่ SMEs ทางอัตราภาษี)
  2.2 บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งจำนวน 25% ทั้งจำนวน 23% ทั้งจำนวน 20% ทั้งจำนวน 20%
                     
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.. 10-02-2013 11:14:51 
su

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตั้งแต่ปีภาษี2555งินได้ของภรรยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี  

 

เป็นที่คับข้องใจของคู่สามีภรรยามายาวนาน เกี่ยวกับเกณฑ์การเสียภาษีที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นของสามี โดยต้องนำเงินได้ที่เป็นชื่อของภรรยามารวมคำนวณเป็นเงินได้ของสามี ทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษีสูงขึ้น คนที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสจึงต้องเสียภาษีสูงขึ้น ถือเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย

ในที่สุดเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า เกณฑ์ดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิสามีและภรรยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่าไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง นับเป็นข่าวดีสำหรับภรรยาที่มีเงินได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ที่ตั้งแต่ปีภาษี 2555 เป็นต้นไป มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี

กรณีสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษี ซึ่งสรุปได้ดังนี้

การหักลดหย่อน

สามีหรือภรรยามีรายได้คนเดียว

มีรายได้ทั้งสองคน

ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

หักของตนเอง 30,000 + ของคู่สมรส 30,000

หักของตนเองคนละ 30,000 บาท

บุตรคนละ 15,000 และ
การศึกษาบุตรคนละ
2,000 บาท

หักได้ 17,000 บาท

ถ้าเป็นสามีภรรยาตลอดปีภาษี
หักได้คนละ 17,000 บาท
ถ้าเป็นสามีภรรยาไม่เต็มปีภาษี
หักได้คนละ 8,500 บาท

เบี้ยประกันชีวิต (ส่วนแรกหักได้
10,000 บาท ส่วนที่เกินหักได้
หลังคำนวนภาษีแล้วแต่ไม่เกิน
90,000 บาท)

ส่วนแรกหักของตนเองตามที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 10,000 + ของคู่สมรสตามที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ถ้าเป็นสามีภรรยาไม่เต็มปีภาษีหักเฉพาะของตนเอง

หักของตนเองตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 15
ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน
500,000 บาท)

หักเฉพาะของผู้มีเงินได้

หักของตนเอง

ดอกเบี้ยกู้ยืม (จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)

ถ้ากู้ยืมคนเดียวให้หักเฉพาะของผู้มีเงินได้
ถ้ากู้ยืมร่วมกัน ให้หักได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ถ้ากู้ยืมแยกกันให้หักของตนเอง
ถ้ากู้ยืมร่วมกันให้หักได้คนละครึ่ง

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

หักได้ตามที่จ่ายจริง

หักของตนเองตามที่จ่ายจริง

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
คนละ 30,000 บาท

บิดามารดาของตน
บิดา 30,000 + มารดา 30,000
บิดามารดาของคู่สมรส
บิดา 30,000 + มารดา 30,000

หักเฉพาะของบิดามารดาของตน บิดา 30,000 + มารดา 30,000

ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือ
ผู้ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

หักได้ 60,000 บาท
ถ้าเลี้ยงดูบุตรที่พิการหรือทุพพลภาพ
หักได้อีก 60,000 บาท

ใครมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนนั้นมีสิทธิ
หักลดหย่อน

 

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:การจ่ายเงินปันผล.. 03-02-2013 20:49:47 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : การจ่ายเงินปันผล

รบกวนสอบถามว่าถ้าในกรณีหจก. ประกาศจ่ายแบ่งส่วนแบ่งกำไร ปี 55 แต่ตั้งเป็นค้างจ่าย และมาจ่ายเงินในปี 56 อยากทราบว่า ผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งจะถือเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาในปีที่ตั้งค้างจ่าย (55) หรือปีที่จ่ายเงิน (56) คือควรจะยึดตามหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หรือเปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ ปู
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 30-01-2013 18:57:13 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

รบกวนถามหน่อยค่ะ...ดิฉันเปิดกิจการเป็นร้านประดับยนต์3คูหาและไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรดิฉันควรทำอย่างไรค่ะ ร้านที่เปิดนี้ได้จดทะเบียนการค้าพาณิชย์แล้วค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 18-01-2013 15:24:13 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

อยากทราบว่าเราได้รางวัลมา100000บาทเราเสียภาษีแล้ว100ละ5แล้วเราจะเสียภาษีอีกไหม
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 18-01-2013 11:30:14 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

เเล้วถ้า เราเป้นผู้มี หนา้ที่ หัก ณ ที่จ่าย แต่ นำส่งเงิน ที่จ่าย ภาษีที่หัก เกินไปละคะ ควรทำไงดี รบกวนหน่อยคะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :สอบถามอัตราค่าบริการคะ.. 14-01-2013 09:48:57 
kat_yaiaccspuc@hotmail.com

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการตรวจสอบบัญชี
กระทู้ : สอบถามอัตราค่าบริการคะ

สอบถามอัตราค่าบริการ

1.อัตราค่าบริการในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ บริษัท จาก ขลบุรี มา กทม คะ

   -  เอกสารประกอบในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่

2.อัตาค่าบริการในการปิด งบเปล่า  +  ค่าเซ็นงบ  ออดิทคะ + รายลเอียด คชจ ในการปิดงบ สิ้นปีคะ

3.อัตราค่าบริการเปลี่ยนชื่อบริษัท

   -  เอกสารประกอบในการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 26-12-2012 08:05:19 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

อาจจะมีปัญหาตอนสรรพากรตรวจสอบค่ะ เพราะค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก 3% แต่ไม่ได้หักถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ถูกไม่ต้อง สรรพากรมีสิทธิ์ใช้ดุจพินิจบังคับให้หัก และนำส่งภาษีเองทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่ม
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 25-12-2012 14:44:32 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ถ้าเกิดเราลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แล้วไม่ได้ทำการใดๆทั้งสิ้นไม่ได้เรียกเก็บคืนจะมีผลยังไง เปนไรไม๊คร๊ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 18-12-2012 21:41:22 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

พิจารณาเบื้องต้นง่ายๆ นะค่ะ 1.ถ้าเช่ารถเฉย ๆ เราต้องขับเองน้ำมันเติมเอง ถือเป็นการเช่าทรัพย์ หัก 5% 2.เช่าเหมาสามารถบรรทุกคนหรือของก็ได้ทั้งวัน เค้ามาขับให้ด้วยเราจ่ายแต่น้ำมัน ถือเป็นจ้างทำของหัก 3% 3.ถ้ากำหนดเส้นทางแน่นอนเช่นเช่ารถไปรับพนักงานที่สนามหลวงมาส่งที่โรงงานบางพลี และเย็นรับจากบางพลีไปส่งสนามหลวง อันนี้ถือเป็นการขนส่งคนโดยสารหัก 1% เพราะเป็นค่าขนส่งค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 16-12-2012 12:33:13 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

การจ้างเหมารถไปทัศนศึกษา ทางบริษัทต้องเสียภาษี 1 เปอร์เซ็นต์ ณ ที่จ่ายปล่าวค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ.. 15-12-2012 12:01:34 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ

การโดนหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่รับเงิน คือการจ่ายภาษีล่วงหน้าค่ะ สิ้นปีจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำนวณใหม่อีกรอบว่า จะต้องเสียเพิ่ม หรือได้คืนภาษีค่ะ แต่จะได้คืน หรือ จ่ายเพิ่มภาษี ก็ต้องยื่นนะค่ะ
IP Logged
หน้า #  << เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF